Sunday, August 19, 2018

สำหรับนักปั่นจักรยาน

Komoot แอปพลิเคชันสำหรับนักปั่นจักรยาน สำหรับเส้นทางปั่นในเมืองที่อาศัยอยู่เป็นประจำนักปั่นมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว แต่หากอยู่ในต่างประเทศ คงจะไม่รู้แน่ๆว่าถนนเส้นไหนมีวิวที่สวยที่สุดที่คุ้มจะเสียเหงื่อเพื่อไปให้ถึงจุดหมายนั้น ฟีเจอร์ที่ดีที่สุดของแอปนี้ คือการให้คำแนะนำเรื่องเส้นทางที่ดีที่สุดจากคนท้องถิ่นและไฮไลต์สำคัญๆที่ห้ามพลาดจากคนในชุมชนของแอป เราเองก็สามารถเพิ่มไฮไลต์พวกนี้เป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการผจญภัยครั้งต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ จุดน่าสนใจ หรือแม้กระทั่งร้านไอศกรีมก็ตาม แอปนี้ใช้งานแบบออฟไลน์ได้ ดาวน์โหลดใช้งานฟรี

ที่มา:ไทยรัฐ

Monday, August 13, 2018


โรลส์รอยซ์เปิดแผนลุยแท็กซี่บินได้

มาอีกรายแล้ว โรลส์รอยซ์ ผู้ผลิตเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบินสัญชาติอังกฤษ เปิดแผนผลิตแท็กซี่ไฮบริดบินได้และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเผยโฉมพาหนะต้นแบบได้ภายใน 18 เดือน เพื่อให้ทันนำออกให้บริการหลังปี 2563

โรลส์รอยซ์ ถือเป็นอีก 1 ผู้ผลิต ที่กำลังเตรียมตัวเข้าแข่งขันในสมรภูมิอากาศยานแท็กซี่ โดยได้เปิดตัวแท็กซี่ไฮบริดบินได้ขึ้นครั้งแรกเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ในงานแสดงอากาศยาน Farnborough International Airshow


อย่างไรก็ตามสิ่งที่โรลส์รอยซ์นำมาโชว์ ยังเป็นเพียงแผนการผลิตเท่านั้น โดยบริษัทคาดหวังว่าจะสามารถผลิตพาหนะต้นแบบได้ภายใน 18
เดือนนับจากนี้ เพื่อที่จะทำการทดสอบการบินให้ได้หลังปี 2563

อากาศยานชนิดนี้ ซึ่งถูกเรียกว่า Electric Vertical Take-off and Landing (Evtol) จุคนได้ราว 4-5 คน บินได้ระยะทางสูงสุด 805 กิโลเมตร ความเร็วสูงสุด 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เราจะได้เห็นอากาศยานเช่นนี้ บินให้บริการภายใน 3-5 ปีนับจากนี้ โดยสำหรับโรลส์รอยซ์คาดหวังว่าจะสามารถโชว์เครื่องต้นแบบและสาธิตการทำงานของพาหนะชนิดนี้ได้ในอีก 2 ปีข้างหน้าร็อบ วัตสัน หัวหน้าทีมรถยนต์ไฟฟ้าของโรลส์รอยซ์ เปิดเผย

เบื้องต้นโรลส์รอยซ์ใช้งบประมาณในการพัฒนาอากาศยานไฮบริดรุ่นนี้ไปแล้วเกือบ 10 ล้านปอนด์ (ราว 420 ล้านบาท) โดยเครื่องยนต์ที่ใช้เป็นเครื่องยนต์แบบเทอร์บายน์ (Terbine) ซึ่งทำงานร่วมกับระบบไฟฟ้า
 นอกจาก Evtol แล้ว โรลส์รอยซ์ยังกำลังพัฒนาพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าหลากหลาย แต่ยังอยู่ในขั้นตอนเริ่มต้น

โรลส์รอยซ์เชื่อว่า อากาศยานไฮบริดจะเป็นยานพาหนะที่ตอบโจทย์การเดินทางระหว่างเมือง แต่หากต้องการเดินทางข้ามประเทศหรือไกลกว่านั้น ระยะทางระหว่าง 200-300 ไมล์ เช่น จากลอนดอนไปปารีส ก็คงต้องหันไปหายานพาหนะประเภทอื่น ที่ทำระยะได้ไกลกว่า

ทั้งนี้ นอกจากโรลส์รอยซ์ ซึ่งเปิดตัวเป็นรายล่าสุดแล้ว ตลาดแท็กซี่บินได้ ยังกำลังหอมหวน เนื่องด้วยบริษัทยักษ์ใหญ่จากหลากหลายสาขา กำลังให้ความสนใจและเข้ามาแข่งขันแบ่งเค้ก ไม่ว่าจะเป็น อูเบอร์ (Uber), Kitty Hawk Project ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกูเกิล, Lilium Aviation จากเยอรมัน, Satran ในฝรั่งเศส และฮันนี่เวลล์แห่งสหรัฐอเมริกา.



ที่มา:ไทยรัฐ













Tuesday, August 7, 2018

รู้จัก 'ไซมอน' หุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศระบบ AI ตัวแรกของโลก


ไซมอน คือหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศระบบปัญญาประดิษฐ์ตัวแรกของโลกที่ได้เดินทางสู่สถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวฮือฮากันในโลกโซเชียล เกี่ยวกับ หุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศที่เพิ่งถูกส่งสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือ...นี่คือหุ่นยนระบบ AI ตัวแรกที่ถูกส่งขึ้นไป


1. ไซมอนเป็นหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้เทคโนโลยีไอบีเอ็ม วัตสัน ที่ได้ติดตามนักบินอวกาศที่ชื่อนายอเล็กซานเดอร์ เกิร์สต ไปสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)

2. เป้าหมายของการส่งไซมอนขึ้นไปคือการช่วยนักบินอวกาศปฏิบัติการ 3 ภารกิจ ได้แก่ 1. การร่วมกันทำการทดลองกับคริสตัล 2. แก้ไขปัญหาลูกบาศก์ของรูบิกโดยอาศัยวิดีโอต่างๆ 3. ทดลองทางการแพทย์ที่ซับซ้อนโดยใช้ไซมอนทำหน้าที่กล้องบินได้


3. ไซมอนเป็นระบบอัจฉริยะแบบอินเตอร์แอคทิฟที่พกพาได้ ที่จะเป็นผู้ช่วยนักบินอวกาศเกิร์สตในภารกิจครั้งที่ 2 สู่สถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการสถานีอวกาศในช่วงที่สองของการปฏิบัติการระยะเวลา 6 เดือน


4. หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ไซมอนมีลักษณะเป็นอุปกรณ์กลมๆ ขนาดเล็ก มีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ใบหน้าและเสียงดิจิทัล รวมถึงการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ของไซมอน ทำให้ไซมอนเป็นเหมือน “เพื่อนร่วมงาน” ของบรรดาลูกเรือบนอวกาศ (ถ้าคุณมีเพื่อนที่หัวกลมๆ อะนะ)

5. กลุ่มนักพัฒนาที่รับผิดชอบการพัฒนาไซมอนคาดการณ์ว่าไซมอนจะช่วยลดความเครียดของบรรดานักบินอวกาศ ขณะเดียวกันก็ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและทำหน้าที่เป็นระบบเตือนล่วงหน้าในกรณีที่เกิดปัญหาทางเทคนิค ซึ่งถือเป็นการเข้ามาช่วยปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยด้วย

6. ปัจจุบันไซมอนได้รับการฝึกอบรมให้สามารถระบุสภาพแวดล้อมของตนและสามารถระบุคู่สนทนาที่เป็นมนุษย์ที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์กับตนได้โดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(AI) ช่วยให้ไซมอนสามารถประมวลผลข้อความ คำพูด และรูปภาพรวมถึงช่วยดึงข้อมูลและข้อค้นพบต่างๆ ได้อีกด้วย

7. ไซมอนสามารถเคลื่อนที่ไปรอบๆ ได้อย่างไร้ปัญหาไซมอนยังได้เรียนรู้ขั้นตอนดำเนินการทั้งหมดเพื่อให้สามารถช่วยทำการทดลองต่างๆ บนยานอวกาศได้อีกด้วย โดยบางครั้งการทดลองอาจประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ มากกว่า 100 ขั้นตอนที่แตกต่างกัน ซึ่งไซมอนรู้จักขั้นตอนเหล่านั้นทั้งหมด

8. โมเดลข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของไอบีเอ็มที่อยู่ในไซมอนจะช่วยให้องค์กรสามารถฝึกโมเดล AI ด้วยเทคโนโลยีของวัตสัน โดยไม่จำเป็นต้องผสานรวมข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหรือมีกรรมสิทธิ์เข้ากับโมเดลแบบสาธารณะแต่อย่างใด และจะไม่มีองค์กรใด (หรือแม้แต่ไอบีเอ็ม)ที่สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้พัฒนาแอปพลิเคชัน AI อื่นๆ เพิ่มเติมได้

9. ในระยะกลาง โครงการไซมอนจะมุ่งที่ผลของกลุ่มทางจิตวิทยาซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับทีมเล็กๆ ระหว่างภารกิจระยะยาวบนอวกาศ โดยผู้สร้างสรรค์ไซมอนมีความมั่นใจว่าการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์

ที่มา:ไทยรัฐ