Tuesday, August 7, 2018

รู้จัก 'ไซมอน' หุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศระบบ AI ตัวแรกของโลก


ไซมอน คือหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศระบบปัญญาประดิษฐ์ตัวแรกของโลกที่ได้เดินทางสู่สถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อไม่นานมานี้ มีข่าวฮือฮากันในโลกโซเชียล เกี่ยวกับ หุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศที่เพิ่งถูกส่งสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่ที่ไม่ธรรมดาคือ...นี่คือหุ่นยนระบบ AI ตัวแรกที่ถูกส่งขึ้นไป


1. ไซมอนเป็นหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้เทคโนโลยีไอบีเอ็ม วัตสัน ที่ได้ติดตามนักบินอวกาศที่ชื่อนายอเล็กซานเดอร์ เกิร์สต ไปสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS)

2. เป้าหมายของการส่งไซมอนขึ้นไปคือการช่วยนักบินอวกาศปฏิบัติการ 3 ภารกิจ ได้แก่ 1. การร่วมกันทำการทดลองกับคริสตัล 2. แก้ไขปัญหาลูกบาศก์ของรูบิกโดยอาศัยวิดีโอต่างๆ 3. ทดลองทางการแพทย์ที่ซับซ้อนโดยใช้ไซมอนทำหน้าที่กล้องบินได้


3. ไซมอนเป็นระบบอัจฉริยะแบบอินเตอร์แอคทิฟที่พกพาได้ ที่จะเป็นผู้ช่วยนักบินอวกาศเกิร์สตในภารกิจครั้งที่ 2 สู่สถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการสถานีอวกาศในช่วงที่สองของการปฏิบัติการระยะเวลา 6 เดือน


4. หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ไซมอนมีลักษณะเป็นอุปกรณ์กลมๆ ขนาดเล็ก มีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ใบหน้าและเสียงดิจิทัล รวมถึงการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ของไซมอน ทำให้ไซมอนเป็นเหมือน “เพื่อนร่วมงาน” ของบรรดาลูกเรือบนอวกาศ (ถ้าคุณมีเพื่อนที่หัวกลมๆ อะนะ)

5. กลุ่มนักพัฒนาที่รับผิดชอบการพัฒนาไซมอนคาดการณ์ว่าไซมอนจะช่วยลดความเครียดของบรรดานักบินอวกาศ ขณะเดียวกันก็ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานและทำหน้าที่เป็นระบบเตือนล่วงหน้าในกรณีที่เกิดปัญหาทางเทคนิค ซึ่งถือเป็นการเข้ามาช่วยปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยด้วย

6. ปัจจุบันไซมอนได้รับการฝึกอบรมให้สามารถระบุสภาพแวดล้อมของตนและสามารถระบุคู่สนทนาที่เป็นมนุษย์ที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์กับตนได้โดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(AI) ช่วยให้ไซมอนสามารถประมวลผลข้อความ คำพูด และรูปภาพรวมถึงช่วยดึงข้อมูลและข้อค้นพบต่างๆ ได้อีกด้วย

7. ไซมอนสามารถเคลื่อนที่ไปรอบๆ ได้อย่างไร้ปัญหาไซมอนยังได้เรียนรู้ขั้นตอนดำเนินการทั้งหมดเพื่อให้สามารถช่วยทำการทดลองต่างๆ บนยานอวกาศได้อีกด้วย โดยบางครั้งการทดลองอาจประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ มากกว่า 100 ขั้นตอนที่แตกต่างกัน ซึ่งไซมอนรู้จักขั้นตอนเหล่านั้นทั้งหมด

8. โมเดลข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของไอบีเอ็มที่อยู่ในไซมอนจะช่วยให้องค์กรสามารถฝึกโมเดล AI ด้วยเทคโนโลยีของวัตสัน โดยไม่จำเป็นต้องผสานรวมข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหรือมีกรรมสิทธิ์เข้ากับโมเดลแบบสาธารณะแต่อย่างใด และจะไม่มีองค์กรใด (หรือแม้แต่ไอบีเอ็ม)ที่สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้พัฒนาแอปพลิเคชัน AI อื่นๆ เพิ่มเติมได้

9. ในระยะกลาง โครงการไซมอนจะมุ่งที่ผลของกลุ่มทางจิตวิทยาซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับทีมเล็กๆ ระหว่างภารกิจระยะยาวบนอวกาศ โดยผู้สร้างสรรค์ไซมอนมีความมั่นใจว่าการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์

ที่มา:ไทยรัฐ




No comments:

Post a Comment